วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ปฏิบัติการ...ปฎิวัติ"7วัน7เมนู"

สื่อการเรียนชุด " 7วัน7เมนู "
หลังจากคราวที่แล้ว เราได้วิเคราะห์ถึงความสมบูรณ์และคุณลักษณะของสื่อการเรียนชุด "7วัน7เมนู" กันไปแล้วนะคะ เราก็ได้พบว่า สื่อการเรียนชุดนี้ยังมีความบกพร่องอยู่บางจุดคะ วันนี้เราก็เลยจะมาปฎิวัติหรือปรับปรุงสื่อการสอนชุดนี้ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ ^^

ก่อนที่เราจะปฎิวัติหรือปรับปรุงสื่อชิ้นนี้นะคะ เราก็ต้องรู้ก่อนว่าสื่อที่เราจะปรับปรุงเนี่ย มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งเราก็ได้สรุปออกมาเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ค่ะ

ข้อดี

  1. มีโมเดลจำลองเป็นอุปกรณ์ครัวอันเล็กๆ ช่วยให้ผู้เรียนได้จำลองการทำอาหารขึ้นมาได้
  2. มีสีสันสดใสดึงดูดใจ ทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน กระตุ้นความสนใจ
  3. มีความคงทนต่อการเก็บรักษาอย่างมาก เพราะเก็บไว้ในกล่องพลาสติกอย่างดี พกพาสะดวก
  4. แบ่งเก็บอุปกรณ์ไว้เป็นกล่องเล็กๆ อีกทีหนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการนำออกมาใช้และเก็บรักษา
ข้อเสีย
  1. ในส่วนของคู่มือการใช้งานมีการชำรุดเนื่องจากการตัดแปะไม่ดี กาวบางส่วนได้หลุดออกไป
  2. ตัวอักษรในคู่มือการใช้งานบางส่วนเป็นการพิมพ์ บางส่วนทำเป็นการเขียน ทำให้อ่านยาก
  3. รูปภาพข้างกล่องเริ่มซีดลง ทำให้ไม่เกิดความน่าสนใจ
เมื่อเราได้รู้ข้อดีข้อเสียของสื่อชิ้นนี้กันแล้ว ก็มาเริ่มการปฏิวัติกันเลย!!

  • เริ่มจากการทำคู่มือสื่อการเรียนขึ้นมาใหม่เพราะว่าคู่มือนี้มีการชำรุดอย่างมาก กาวบางส่วนหลุดออกทำให้บางส่วนที่ได้ตัดแปะไว้เสียหาย เราก็เลยปรับปรุงใหม่โดยพิมใหม่ทั้งหมดแล้วปริ๊นออกมา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทากาว และเพิ่มความคงทนให้กับกระดาษ โดยการเลือกกระดาษเป็นกระดาษการ์ดสี 180 แกรม และออกแบบใหม่เพื่อความน่าสนใจด้วยค่ะ 
ภาพตัวอย่างบางส่วนที่กาวหลุด
ภาพตัวอย่างบางส่วนที่กาวหลุด

ภาพตัวอย่างของคู่มือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่
ภาพตัวอย่างของคู่มือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่

  • อย่างที่สองคือ ในคู่มือของสื่อจำมีบางหน้าที่เขียน บางหน้าที่พิมพ์ หรือบางทีก็อยู่รวมหน้าเดียวกัน ทำให้อ่านยากค่ะ คำบางคำก็เขียนผิด เราก็เลย จัดการพิมพ์ใหม่ออกมาทั้งหมดเหมือนกันค่ะ แล้วก็ออกแบบใหม่ด้วย จะเป็ยอย่างไรบ้างไปชมกันเลย
ภาพตัวอย่างหน้าที่เขียนแล้วก็มีคำผิด
ภาพตัวอย่างหน้าที่มีทั้งการพิมพ์และการเขียนอยู่ในหน้าเดียวกัน


ภาพตัวอย่างหน้าคำนำที่ทำขึ้นมาใหม่
ภาพตัวอย่างหน้าแบบทดสอบก่อนเรียนที่ทำขึ้นมาใหม่

  • อย่างที่สามคือรูปภาพข้างกล่องที่เริ่มสีจางลงเพราะกาลเวลา เราก็เลยแกะเอาภาพเก่าออกจัดทำขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเล่นสื่อชิ้นนี้
ภาพตัวอย่างสีที่เริ่มจาง
ภาพตัวอย่างสีที่เริ่มจาง
ภาพตัวอย่างสีที่เริ่มจาง

ภาพตัวอย่างที่เรานำมาติดใหม่
ภาพตัวอย่างที่เรานำมาติดใหม่
ภาพตัวอย่างที่เรานำมาติดใหม่

เสร็จแล้วววววววว และแล้วเราก็ปฎิวัติสื่อการเรียนชุด"7วัน7เมนู" ได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้!!! เพื่อให้สื่อกลับมามีความสมบูรณ์และน่าสนใจเหมือนเดิม และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น แล้วก็ยังเป็นแนวทางให้เราใช้เป็นตัวอย่างในการผลิตสื่อการเรียนของเราเองด้วย ฮ่าๆๆ เพราะเราก็ต้องทำสื่อการเรียนขึ้นมาชิ้นหนึ่งเหมือนกัน แต่จะทำเรื่องอะไร เป็นแบบไหน ก็...ขออุปไว้ก่อนนะคะ ฮ่าๆๆ 

วันนี้ก็ต้องขอตัวลากันไปก่อนนะคะ บายยย...








วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

ความสมบูรณ์ และ คุณลักษณะของ "7วัน 7เมนู"

ชุดการสอน หมายถึง ชุดสื่อประสมซึ่งผลิตขึ้นมาอย่างมีระบบ มีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จในตัวเอง โดยมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ประสบการณ์ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ชุดการสอน 7 วัน 7 เมนู เป็นชุดการสอนเกี่ยวกับการทำอาหาร ต้องการให้ผู้เรียนได้รู้เกี่ยวกับประเภทของอาหาร วัตถุดิบและเครื่องปรุงในการทำอาหาร และทำการจำลองการทำอาหารง่ายๆได้ ชุดการสอนนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชุดการสอนนี้ประกอบไปด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน กล่องใส่วัสดุอุปกรณ์ และกล่องใส่วัตถุดิบและเครื่องปรุง



ภายในคู่มือจะมีคำอธิบายสื่อเพื่อทำความรู้จักกับชุดการสอน มีการแนะนำวัตถุดิบเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร มีแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิม มีเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มีกิจกรรมระหว่างเรียนให้ผู้เรียนหัดทำอาหาร มีการเฉลยคำตอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน และมีการทดลองทำอาหารโดยใช้โมเดลเพื่อให้ผู้เรียนทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์และจำวิธีการทำอาหารได้จากการปฎิบัติ


วิเคราะห์ด้านความสมบูรณ์ของชุดการสอน

1. มีสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
- มีสิ่งเร้าคือโมเดลการทำอาหาร แต่อาจไม่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลเพราะสื่อนี้ไว้ใช้สำหรับผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งอาจจะโตเกินกว่าจะให้โมเดลที่เป็นของเล่นและเด็กผู้ชายบางคนอาจจะไม่ชอบเพราะถูกผู้ปกครองปลูกฝังว่านี่คือของเล่นของเด็กผู้หญิง


2. บอกวัตถุประสงค์หรือปลายทาง
- มีการบอกวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนในหน้าของคำอธิบายสื่อ


3. มีเนื้อหาและกิจกรรมที่หลากหลายให้กับผู้เรียน
- ชุดการสอนนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็นสามส่วนคือ ผัด ยำ และต้ม ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไปได้ที่ละบทอย่างช้าๆ ในแต่ละบทก็จะมีกิจกรรมระหว่างเรียน มีการจำลองการทำอาหารโดยใช้โมเดล มีการตอบคำถามวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร

4. มีการติดตามความก้ามหน้าของผู้เรียน
- ชุดการสอนนี้มีการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยการให้ทำแบบทดสอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

5. ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- ชุดการสอนนี้มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ ตัวอย่างเช่น การให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและเขียนไว้ว่าถ้าตอบถูกน้อยกว่า 8 ข้อ ให้ย้อนกลับไปทบทวนบทเรียนใหม่ และการให้ตอบคำถามในกิจกรรมระหว่างเรียนก็จะมีเฉลยและบอกวิธีทำไว้ด้วย



วิเคราะห์ด้านคุณลักษณะของชุดการสอน

1. เป็นชุดสื่อประสมที่ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียน
- ชุดการสอนนี้เป็นสื่อประสมที่ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียนเพราะจากการที่ทดลองใช้สื่อการสอนนี้แล้ว รู้สึกว่าทำได้อย่างที่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้



2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
- ชุดการสอนนี้เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเนื่องจากชุดการสอนนี้เหมาะสำหรับเด็กๆที่อยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็นซึ่งแน่นอนว่าต้องมีสักครั้งที่ตามผู้ปกครองเข้าไปในในครัวและได้เห็นวัตถุดิบในการทำอาหารมาบ้าง ซึ่งบางอย่างอาจจะยังไม่รู้ว่าคืออะไร แต่ชุดการสอนนี้มีรูปวัตถุดิบพร้อมชื่อของวัตถุดิบเขียนไว้ข้างหลังทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ



3. ประกอบไปด้วยสื่อหลากหลายเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดี
- ชุดการสอนชุดนี้ประกอบไปด้วยสื่อที่หลากหลายและมีสีสันสดใสเร้าความสนใจของผู้เรียนเป็นอย่างดี ชุดการสอนนี้ประกอบไปด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน กล่องใส่วัสดุอุปกรณ์ และกล่องใส่วัตถุดิบและเครื่องปรุง



4. มีคำชี้แจงและคำแนะนำวิธีการใช้อย่างละเอียด ชัดเจน ง่ายต่อการนำไปใช้
- ชุดการสอนชุดนี้ไม่มีคำชี้แจงและคำแนะนำวิธีการใช้อย่างละเอียด ไม่ชัดเจน และยากต่อการนำไปใช้ เพราะจากการที่ได้ทดลองใช้มา ได้เกิดความสับสนในการใช้โมเดลจำลองการทำอาหารซึ่งไม่มีคำชี้แจงบอกว่าอุปกรณ์ใช้อย่างไร และวัตถุดิบไม่มีการจัดหมวดหมู่ไว้ทำให้ยากต่อการหามาใช้

5. มีวัสดุอุปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนในบทเรียน
- ชุดการสอนนี้มีวัสดุอุปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนในบทเรียนและเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

6. ได้ดำเนินการผลิตอย่างเป็นระบบ ได้ปรับปรุงและทดสอบให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ชุดการสอนนี้ยังมีข้อบกพร่องที่ บางที่ก็พิมพ์บางที่ก็เขียนทำให้เกิดความสับสน และตรงที่เขียนก็ทำให้อ่านยากและมีบางที่ที่ผู้จัดทำเขียนผิด ทำให้ไม่เกิดความน่าเชื่อถือ สื่อก็ลดความน่าสนใจลง



7. มีความคงทนถาวรต่อการใช้และสะดวกในการเก็บรักษา
- ชุดการสอนนี้ยังมีความบกพร่องด้านความคงทนถาวรอยู่ เนื่องจากในคู่มือการใช้มีการตัดกระดาษแล้วเอามาแปะในคู่มือจำนวนมาก และมีบางส่วนที่ติดไม่แน่นเริ่มหลุดออกมา ในด้านการเก็บรักษา ได้มีการนำวัสดุอุปกรณ์แบ่งไว้เป็นกล่องเล็กๆ และใส่ไว้ในกล่องใหญ่ที่มีความแข็งแรงคงทนพกพาสะดวกอีกทีหนึ่ง ทำให้เกิดความสะดวกในการเก็บรักษาเป็นอย่างดี


การที่จะสร้างชุดการสอนขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเนื่องจากต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้สื่อชิ้นนี้ออกมาดีหรือไม่ดี เพราะฉะนั้นเมื่อทำออกมาแล้ว ควรมีการทดสอบ ทดลองใช้ ปรับปรุง และพัฒนาอยู่เสมอ