วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

INFOGRAPHIC : เรียนเทคโนจบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

"น้องๆ หลายๆ ที่อยากเข้ามาเรียนเอกเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเนี่ย คงสงสัยใช่มั้ยค่ะ ว่าเรียนจบไปแล้วจะทำงานอะไรกันบ้าง เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี พี่ก็เลยทำเป็นภาพอินโฟกราฟฟิกมาให้น้องๆได้ดูกันว่าเมื่อจบจากเอกเทคโนไป จะสามารถทำงานได้หลากหลายขนาดไหน"

ข้อความข้างบนนี่ เป็นคำอธิบายภาพอินโฟกราฟฟิกที่เราได้ทำขึ้นมาค่ะ ตอนแรกที่อาจารย์สั่งให้ทำภาพอินโฟกราฟฟิกขึ้นมาเราก็คิดไปสารพัดเลยว่าจะทำเรื่องอะไรดี จะไปทำเรื่องสุขภาพ...เราก็ไม่ใช่คนที่ดูแลสุขภาพขนาดนั้น จะไปทำเรื่องการออมเงิน...เราก็ไม่ถนัด จะไปทำเรื่องการเดินทาง...ทุกวันนี้ก็ยังหลงทางอยู่เลย ฮ่าๆๆ คิดไปคิดมาก็มาหยุดอยู่กับสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวัน นั้นก็คือ เรียนๆๆ แล้วก็เรียน แต่สิ่งที่เราเรียนเนี่ยมันเกี่ยวข้องกับหลายสิ่งมาก ทั้งกล้อง วิทยุ โทรทัศน์ สื่อการสอน สตูดิโอ กราฟฟิค คอมพิวเตอร์ และอะไรอีกมากมาย งั้นก็เอาจุดจบเลยแล้วกัน ว่าพอเราเรียนจบแล้วเราจะทำงานอะไรดี เพราะตอนม.ปลายที่เรากำลังหาที่เรียนต่ออยู่ เราก็สงสัยเหมือนกันว่า ถ้าเรามาเรียนที่เอกนี่ เราจะทำงานอะไรเมื่อจบไป? และเราก็เชื่อว่ามีเพื่อนๆ หลายคนสงสัยเหมือนกันใช่มั้ย ฮ่าๆๆ

วัตถุประสงค์ในการจัดทำอินโฟกราฟฟิกเรื่อง "เรียนเทคโนจบไปทำงานอะไรได้บ้าง?" คือต้องการจะให้ความรู้แก่น้องๆ ที่กำลังหาที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจค่ะ เพื่อน้องๆโตขึ้นอยากจะประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่งในนี้ ก็สามารถสมัครเข้ามาเรียนเอกเทคโนของเราได้เลย :)

โดยที่กลุ่มเป้าหมายของเราก็แน่นอนอยู่แล้วค่ะว่าต้องเป็นน้องๆ ม.ปลาย ที่กำลังหาที่ศึกษาต่อ หรือเพื่อนๆที่เข้ามาเรียนแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจบไปแล้วทำงานอะไรได้ ก็สามารถเข้ามาดูได้นะคะ ฮ่าๆๆ

ในส่วนของขั้นตอนการทำ อินโฟกราฟฟิคของเรา สามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ค่ะ

  1. กำหนดเรื่องที่จะทำ วัตถุประสงค์ แนวคิด กลุ่มเป้าหมายให้ได้ก่อนค่ะ เรื่องนี้สำคัญมากค่ะ กว่าเราจะคิดได้ เปลี่ยนหลายเรื่องมาก ต้องเลือกเรื่องที่เราสนใจ และต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลที่เรานำมาทำด้วยนะคะสำหรับคนที่หาข้อมูลมากจากที่อื่น
  2. ลองออกแบบรูปแบบที่เราจะทำที่กระดาษก่อนค่ะ ดูเรื่องการจัดองค์ประกอบ ว่าเราจะทำแบบไหน ถ้าคิดไม่ออกก็ลองไปดูภาพที่คนอื่นเขาทำมาก่อนแล้วค่ะ เพราะว่ามีหลายแบบมากทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ส่วนเราเลือกเป็นวงกลมค่ะ โดยแบ่งรอบๆเป็นแปดส่วนเท่ากันสำหรับแปดอาชีพค่ะ
  3. เริ่มลงมือทำในโปรแกรม Illustrator ค่ะ เป็นโปรแกรมที่ไว้ใช้วาดภาพกราฟฟิคต่างๆ มีอุปกรณ์เครื่องมือคล้ายๆกับโปรแกรม Photoshop ค่ะ สำหรับคนที่ใช้โปรแกรม Photoshop เป็นอยู่แล้วก็ไม่ยากเลยค่ะ ในขั้นตอนนี้นะคะ เราก็เริ่มทำตามที่เราได้ออกแบบไว้ในขั้นตอนที่แล้วเลยค่ะ แต่ที่ต้องเพิ่มมาคือสีค่ะ เพราะตอนที่เราออกแบบไว้เราไม่ได้ใส่สี สีที่เราเลือกใช้เป็นสีหลักเลยก็คือสีฟ้าค่ะ เพราะสีฟ้าเป็นสีของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒค่ะ ส่วนสีอื่นที่เป็นเสื้อผ้าของตัวการ์ตูนก็ใช้เป็นสีสันสดใสเพื่อความสบายตาค่ะ
  4. สุดท้ายก็ส่งให้อาจารย์ติชมค่ะ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปเผยแพร่ในโซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้แก่กลุ่มเป้าหมายของเราค่ะ

ว่าแต่เพื่อนๆ รู้จักอินโฟกราฟฟิกกันหรือเปล่าคะ ฮ่าๆๆ บางคนอาจจะยังไม่รู้จักใช่มั้ย งั้นเราจะอธิบายให้ฟัง

Infographic หรือ Information Graphic หากแปลตรงตัวก็คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูลค่ะ ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำกัด (ก่อนที่พวกเขาจะเบื่อหน่ายเสียก่อน) ด้วยเหตุนี้ “อินโฟกราฟิก” จึงเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาวผู้เข้ามาจัดการกับ “ข้อมูล-ตัวเลข-ตัวอักษร” ที่เรียงรายเป็นตับเหมือนยาขม ให้กลายร่างมาเป็นภาพที่สวยงาม 

สรุป Infographic ก็คือรูปภาพที่ทำจากกราฟฟิก สามารถอธิบายเนื้อหา เรื่องราว หรือข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้จัดทำต้องการจะสื่อได้ด้วยตัวมันเองค่ะ หรือถ้าจะเปรียบเทียบเป็นสื่อการสอน ก็คงจะเป็นสื่อการสอนประเภทวัสดุที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยตัวเองได้ คล้ายๆกับแผนภูมิหรือแผนภาพค่ะ








วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ปฏิบัติการ...ปฎิวัติ"7วัน7เมนู"

สื่อการเรียนชุด " 7วัน7เมนู "
หลังจากคราวที่แล้ว เราได้วิเคราะห์ถึงความสมบูรณ์และคุณลักษณะของสื่อการเรียนชุด "7วัน7เมนู" กันไปแล้วนะคะ เราก็ได้พบว่า สื่อการเรียนชุดนี้ยังมีความบกพร่องอยู่บางจุดคะ วันนี้เราก็เลยจะมาปฎิวัติหรือปรับปรุงสื่อการสอนชุดนี้ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ ^^

ก่อนที่เราจะปฎิวัติหรือปรับปรุงสื่อชิ้นนี้นะคะ เราก็ต้องรู้ก่อนว่าสื่อที่เราจะปรับปรุงเนี่ย มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งเราก็ได้สรุปออกมาเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ค่ะ

ข้อดี

  1. มีโมเดลจำลองเป็นอุปกรณ์ครัวอันเล็กๆ ช่วยให้ผู้เรียนได้จำลองการทำอาหารขึ้นมาได้
  2. มีสีสันสดใสดึงดูดใจ ทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน กระตุ้นความสนใจ
  3. มีความคงทนต่อการเก็บรักษาอย่างมาก เพราะเก็บไว้ในกล่องพลาสติกอย่างดี พกพาสะดวก
  4. แบ่งเก็บอุปกรณ์ไว้เป็นกล่องเล็กๆ อีกทีหนึ่ง ทำให้ง่ายต่อการนำออกมาใช้และเก็บรักษา
ข้อเสีย
  1. ในส่วนของคู่มือการใช้งานมีการชำรุดเนื่องจากการตัดแปะไม่ดี กาวบางส่วนได้หลุดออกไป
  2. ตัวอักษรในคู่มือการใช้งานบางส่วนเป็นการพิมพ์ บางส่วนทำเป็นการเขียน ทำให้อ่านยาก
  3. รูปภาพข้างกล่องเริ่มซีดลง ทำให้ไม่เกิดความน่าสนใจ
เมื่อเราได้รู้ข้อดีข้อเสียของสื่อชิ้นนี้กันแล้ว ก็มาเริ่มการปฏิวัติกันเลย!!

  • เริ่มจากการทำคู่มือสื่อการเรียนขึ้นมาใหม่เพราะว่าคู่มือนี้มีการชำรุดอย่างมาก กาวบางส่วนหลุดออกทำให้บางส่วนที่ได้ตัดแปะไว้เสียหาย เราก็เลยปรับปรุงใหม่โดยพิมใหม่ทั้งหมดแล้วปริ๊นออกมา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทากาว และเพิ่มความคงทนให้กับกระดาษ โดยการเลือกกระดาษเป็นกระดาษการ์ดสี 180 แกรม และออกแบบใหม่เพื่อความน่าสนใจด้วยค่ะ 
ภาพตัวอย่างบางส่วนที่กาวหลุด
ภาพตัวอย่างบางส่วนที่กาวหลุด

ภาพตัวอย่างของคู่มือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่
ภาพตัวอย่างของคู่มือที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่

  • อย่างที่สองคือ ในคู่มือของสื่อจำมีบางหน้าที่เขียน บางหน้าที่พิมพ์ หรือบางทีก็อยู่รวมหน้าเดียวกัน ทำให้อ่านยากค่ะ คำบางคำก็เขียนผิด เราก็เลย จัดการพิมพ์ใหม่ออกมาทั้งหมดเหมือนกันค่ะ แล้วก็ออกแบบใหม่ด้วย จะเป็ยอย่างไรบ้างไปชมกันเลย
ภาพตัวอย่างหน้าที่เขียนแล้วก็มีคำผิด
ภาพตัวอย่างหน้าที่มีทั้งการพิมพ์และการเขียนอยู่ในหน้าเดียวกัน


ภาพตัวอย่างหน้าคำนำที่ทำขึ้นมาใหม่
ภาพตัวอย่างหน้าแบบทดสอบก่อนเรียนที่ทำขึ้นมาใหม่

  • อย่างที่สามคือรูปภาพข้างกล่องที่เริ่มสีจางลงเพราะกาลเวลา เราก็เลยแกะเอาภาพเก่าออกจัดทำขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ดึงดูดใจผู้เรียนให้อยากเล่นสื่อชิ้นนี้
ภาพตัวอย่างสีที่เริ่มจาง
ภาพตัวอย่างสีที่เริ่มจาง
ภาพตัวอย่างสีที่เริ่มจาง

ภาพตัวอย่างที่เรานำมาติดใหม่
ภาพตัวอย่างที่เรานำมาติดใหม่
ภาพตัวอย่างที่เรานำมาติดใหม่

เสร็จแล้วววววววว และแล้วเราก็ปฎิวัติสื่อการเรียนชุด"7วัน7เมนู" ได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้!!! เพื่อให้สื่อกลับมามีความสมบูรณ์และน่าสนใจเหมือนเดิม และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น แล้วก็ยังเป็นแนวทางให้เราใช้เป็นตัวอย่างในการผลิตสื่อการเรียนของเราเองด้วย ฮ่าๆๆ เพราะเราก็ต้องทำสื่อการเรียนขึ้นมาชิ้นหนึ่งเหมือนกัน แต่จะทำเรื่องอะไร เป็นแบบไหน ก็...ขออุปไว้ก่อนนะคะ ฮ่าๆๆ 

วันนี้ก็ต้องขอตัวลากันไปก่อนนะคะ บายยย...








วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

ความสมบูรณ์ และ คุณลักษณะของ "7วัน 7เมนู"

ชุดการสอน หมายถึง ชุดสื่อประสมซึ่งผลิตขึ้นมาอย่างมีระบบ มีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จในตัวเอง โดยมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ประสบการณ์ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ชุดการสอน 7 วัน 7 เมนู เป็นชุดการสอนเกี่ยวกับการทำอาหาร ต้องการให้ผู้เรียนได้รู้เกี่ยวกับประเภทของอาหาร วัตถุดิบและเครื่องปรุงในการทำอาหาร และทำการจำลองการทำอาหารง่ายๆได้ ชุดการสอนนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชุดการสอนนี้ประกอบไปด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน กล่องใส่วัสดุอุปกรณ์ และกล่องใส่วัตถุดิบและเครื่องปรุง



ภายในคู่มือจะมีคำอธิบายสื่อเพื่อทำความรู้จักกับชุดการสอน มีการแนะนำวัตถุดิบเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร มีแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิม มีเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มีกิจกรรมระหว่างเรียนให้ผู้เรียนหัดทำอาหาร มีการเฉลยคำตอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน และมีการทดลองทำอาหารโดยใช้โมเดลเพื่อให้ผู้เรียนทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์และจำวิธีการทำอาหารได้จากการปฎิบัติ


วิเคราะห์ด้านความสมบูรณ์ของชุดการสอน

1. มีสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
- มีสิ่งเร้าคือโมเดลการทำอาหาร แต่อาจไม่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลเพราะสื่อนี้ไว้ใช้สำหรับผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งอาจจะโตเกินกว่าจะให้โมเดลที่เป็นของเล่นและเด็กผู้ชายบางคนอาจจะไม่ชอบเพราะถูกผู้ปกครองปลูกฝังว่านี่คือของเล่นของเด็กผู้หญิง


2. บอกวัตถุประสงค์หรือปลายทาง
- มีการบอกวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนในหน้าของคำอธิบายสื่อ


3. มีเนื้อหาและกิจกรรมที่หลากหลายให้กับผู้เรียน
- ชุดการสอนนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็นสามส่วนคือ ผัด ยำ และต้ม ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไปได้ที่ละบทอย่างช้าๆ ในแต่ละบทก็จะมีกิจกรรมระหว่างเรียน มีการจำลองการทำอาหารโดยใช้โมเดล มีการตอบคำถามวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร

4. มีการติดตามความก้ามหน้าของผู้เรียน
- ชุดการสอนนี้มีการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยการให้ทำแบบทดสอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

5. ให้ข้อมูลย้อนกลับ
- ชุดการสอนนี้มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ ตัวอย่างเช่น การให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและเขียนไว้ว่าถ้าตอบถูกน้อยกว่า 8 ข้อ ให้ย้อนกลับไปทบทวนบทเรียนใหม่ และการให้ตอบคำถามในกิจกรรมระหว่างเรียนก็จะมีเฉลยและบอกวิธีทำไว้ด้วย



วิเคราะห์ด้านคุณลักษณะของชุดการสอน

1. เป็นชุดสื่อประสมที่ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียน
- ชุดการสอนนี้เป็นสื่อประสมที่ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียนเพราะจากการที่ทดลองใช้สื่อการสอนนี้แล้ว รู้สึกว่าทำได้อย่างที่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้



2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
- ชุดการสอนนี้เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเนื่องจากชุดการสอนนี้เหมาะสำหรับเด็กๆที่อยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็นซึ่งแน่นอนว่าต้องมีสักครั้งที่ตามผู้ปกครองเข้าไปในในครัวและได้เห็นวัตถุดิบในการทำอาหารมาบ้าง ซึ่งบางอย่างอาจจะยังไม่รู้ว่าคืออะไร แต่ชุดการสอนนี้มีรูปวัตถุดิบพร้อมชื่อของวัตถุดิบเขียนไว้ข้างหลังทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ



3. ประกอบไปด้วยสื่อหลากหลายเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดี
- ชุดการสอนชุดนี้ประกอบไปด้วยสื่อที่หลากหลายและมีสีสันสดใสเร้าความสนใจของผู้เรียนเป็นอย่างดี ชุดการสอนนี้ประกอบไปด้วย คู่มือการใช้ชุดการสอน กล่องใส่วัสดุอุปกรณ์ และกล่องใส่วัตถุดิบและเครื่องปรุง



4. มีคำชี้แจงและคำแนะนำวิธีการใช้อย่างละเอียด ชัดเจน ง่ายต่อการนำไปใช้
- ชุดการสอนชุดนี้ไม่มีคำชี้แจงและคำแนะนำวิธีการใช้อย่างละเอียด ไม่ชัดเจน และยากต่อการนำไปใช้ เพราะจากการที่ได้ทดลองใช้มา ได้เกิดความสับสนในการใช้โมเดลจำลองการทำอาหารซึ่งไม่มีคำชี้แจงบอกว่าอุปกรณ์ใช้อย่างไร และวัตถุดิบไม่มีการจัดหมวดหมู่ไว้ทำให้ยากต่อการหามาใช้

5. มีวัสดุอุปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนในบทเรียน
- ชุดการสอนนี้มีวัสดุอุปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนในบทเรียนและเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

6. ได้ดำเนินการผลิตอย่างเป็นระบบ ได้ปรับปรุงและทดสอบให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ชุดการสอนนี้ยังมีข้อบกพร่องที่ บางที่ก็พิมพ์บางที่ก็เขียนทำให้เกิดความสับสน และตรงที่เขียนก็ทำให้อ่านยากและมีบางที่ที่ผู้จัดทำเขียนผิด ทำให้ไม่เกิดความน่าเชื่อถือ สื่อก็ลดความน่าสนใจลง



7. มีความคงทนถาวรต่อการใช้และสะดวกในการเก็บรักษา
- ชุดการสอนนี้ยังมีความบกพร่องด้านความคงทนถาวรอยู่ เนื่องจากในคู่มือการใช้มีการตัดกระดาษแล้วเอามาแปะในคู่มือจำนวนมาก และมีบางส่วนที่ติดไม่แน่นเริ่มหลุดออกมา ในด้านการเก็บรักษา ได้มีการนำวัสดุอุปกรณ์แบ่งไว้เป็นกล่องเล็กๆ และใส่ไว้ในกล่องใหญ่ที่มีความแข็งแรงคงทนพกพาสะดวกอีกทีหนึ่ง ทำให้เกิดความสะดวกในการเก็บรักษาเป็นอย่างดี


การที่จะสร้างชุดการสอนขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเนื่องจากต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้สื่อชิ้นนี้ออกมาดีหรือไม่ดี เพราะฉะนั้นเมื่อทำออกมาแล้ว ควรมีการทดสอบ ทดลองใช้ ปรับปรุง และพัฒนาอยู่เสมอ